ติดต่อ +66 2 826 9999
Mon - Fri 08:00 - 17:00
Sat - Sun 08:00 - 12:00

การตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน.

คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก และส่งเสริมสุขภาพสตรี
...

 

การตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนที่สำคัญและจำเป็นของกระบวนการทำ IVF หรือ ICSI ​ เพราะเป็นการป้องกันและลดความเสี่ยงต่อภาวะการมีบุตรยาก ที่อาจเกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม รวมถึงการตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมากขึ้น ยิ่งทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อการกลายพันธุ์ของโครโมโซมตัวอ่อนสูง ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์ลดลง​

 

การตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน (Preimplantation Genetic Screening: PGS)

การตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน ใช้เทคโนโลยีที่ตรวจวิเคราะห์จากพันธุกรรม เพื่อหาความผิดปกติของโครโมโซมตัวอ่อน พร้อมทั้งทำการคัดกรองโครโมโซมตัวอ่อนที่สมบูรณ์และมีจำนวนโครโมโซมที่ปกติ จะถูกเลือกเพื่อนำกลับไปใส่ในโพรงมดลูก​

 

Next-generation sequencing (NGS)

คือ เทคโนโลยีการตรวจการเกินมาหรือขาดหายไปของจำนวนโครโมโซม ซึ่งเป็นการลดปัญหาที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว การแท้งในช่วงสามเดือนแรก หรือการตั้งครรภ์ต่อด้วยโครโมโซมที่ผิดปกติทำให้ทารกมีความผิดปกติแต่กำเนิด NGS สามารถตรวจความผิดปกติของโครโมโชมได้ครอบคลุมทั้ง 24 โครโมโซมได้ในครั้งเดียว ด้วยความแม่นยำสูง และมีอัตราการเกิดการผิดพลาด (False positive rate) ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับเทคนิคอื่นๆ และสามารถทราบผลตรวจได้ภายใน 3-5 วัน

 

การตรวจโครโมโซมที่สำคัญ มีอะไรบ้าง?​
  • ตรวจคัดกรองโรคดาวน์ซินโดรม​
  • ตรวจคัดกรองโรคธารัสสิเมีย​
  • ตรวจความสมบูรณ์ของโครโมโซมทั้ง 23 คู่ เพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ​

​ 

ผู้ที่เหมาะกับการตรวจโครโมโซม?​
  • ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์อายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป​
  • ผู้หญิงที่มีประวัติการแท้งหลายครั้ง​
  • คนในครอบครัวมีประวัติการถ่ายทอดความผิดปกติทางพันธุกรรม ​
  • ผู้ที่ได้เคยใช้เทคโนโลยีช่วยในการเจริญพันธุ์หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ​

 


Share:

@2020 BDMS Wellness Clinic. All rights Reserved

...